วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สาระสำคัญ
  • ชนิดของดอกไม้ในวรรณคดีไทย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. นักเรียนสามารถบอกชื่อดอกไม้ในวรรณคดีไทยได้
  2. นักเรียนสามารถเขียนชื่อดอกไม้ในวรรรณคดีไทยได้ถูกต้อง
  3. นักเรียนสามารถเขียนเรียงความเรื่องดอกไม้ในวรรณคดีไทยได้

สาระการเรียนรู้

  1. "มารู้จักดอกไม้ในวรรณคดีไทยกันเถอะ"
  2. การเขียนเรียงความ

การดำเนินการสอน

  1. นักเรียนร่วมกันบอกชื่อดอกไม้ที่นักเรียนรู้จักให้ได้มากที่สุด
  2. นักเรียนแบ่งกลุ่มมดอกไม้ที่อยู่ในวรรณคดี และไม่อยู่ในวรรณคดี
  3. นักเรียนศึกษาเรื่อง "มารู้จักดอกไม้ในวรรณคดีไทยกันเถอะ"จาก เว็บบล็อก และเว็บไซด์ต่าง ๆ
  4. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่องดอกไม้ในวรรณคดี

สื่อประกอบการสอน

  1. เว็บบล็อก
  2. ภาพดอกไม้ในวรรณดีไทย

การวัดผลประเมินผล

  1. การตรวจผลงาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง การสืบค้นข้อมูลและใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนองานเรื่อง พืช
มาเร็ว ๆ มาเรียนกัน

สาระสำคัญ
การใช้อินเทอร์เนตในการสืบค้นข้อมูล คัดลอกและนำข้อมูลมาจัดทำในโปรแกรมpowerpoint

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สืบค้นข้อมูล การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูลได้

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เนตด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
2.นักเรียนสามารถจัดทำการนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรม powerpoint
3.นักเรียนมีทักษะการนำเสนองานได้อย่างคล่องแคล่ว

สาระการเรียนรู้
1.นักเรียน ใช้การสืบค้น จากอินเทอร์เนต โดย เปิดเวป
http://www.google.co.th/
หรือ
http://www.yahoo.con/ หรือ web อื่น ๆ ที่นักเรียนรู้จัก แล้วพิมพ์หัวข้อที่ต้องการศึกษาลงไป เช่น พิมพ์ "พืช" แล้วคลิ๊ก ค้นหา นักเรียนเข้าไป คัดลอก ข้อความ แล้วนำมาจัดทำในโปรแกรม powerpoint นักเรียนเข้าไปศึกษาใน web site
2.การใช้งานโปรแกรม powerpoint นักเรียนสามารถคลิกดูที่นี่
powerpoint ได้เลย นะคะ

การวัดผล
ตรวจผลงานการนำเสนองานโดยใช้ โปรแกรม powerpoint

แล้วพบกับบทเรียนใหม่ ๆ ต่อไป จากครู เทียมแข + ครูอุราลักษณ์ ผู้ใจดี

สาระการเรียนรู้สังคมศาสนาและวัฒนธรรม

"ป่าไม้" ทรัพยากรธรรมชาติที่ควรรักษา (โดย รองจิตตนันท์)

"ป่าไม้ " เป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เราจำเป็นต้องรักษาไว้เพราะจากที่เราได้เรียนเรื่องต่าง ๆเกี่ยวกับ"ต้นไม้" เกี่ยวกับ "พืช" จากคุณครูที่น่ารักจากชาวสมาชิกกำลังใจแล้ว ทุกคนคงเห็นว่า ต้นไม้จากต้นเดี่ยวมีส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถนำมาทำงานศิลปะต่าง ๆ สามารถนำมาทำงานประดิษฐ์ เมื่อเรามีพื้นที่มากขึ้น (คิดพื้นที่แบบที่ครูน้ำตาลสอน) เราคงมีสิ่งแวดล้อมที่ดี แล้วสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ต่างกันอย่างไร ? แล้วป่าไม้มีกี่ประเภท แล้วเราจะรักษา "ป่าไม้" ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญนี้อย่างไร ? เรามาร่วมกันศึกษาหาความรู้กันเถอะค่ะ

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม......>>> * คลิก !*
ประเภทของทรัพยากรป่าไม้........>>>
* คลิก ! *
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้.........>>>
*คลิก !*

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติที่ควรรักษา (โดย รองจิตตนันท์)

ลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  1. นักเรียนสามารถบอกประเภทและลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิดได้
  2. นักเรียนสามารถบอกความแตกต่างระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติได้
  3. นักเรียนสามารถบอกวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ได้

าระการเรียนรู้

  1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
  2. ประเภทและลักษณะของป่าไม้
  3. การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

ารดำเนินการสอน

  1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
  2. นักเรียนศึกษาเรื่องของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทและลักษณะของป่าไม้และการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
  3. ศึกษาเรื่องป่าไม้เพิ่มเติมจากเว็บไซด์อื่น ๆ
  4. ทำรายงานและนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. ทำแบบทดสอบหลังเรียน

สื่อประกอบการสอน

  1. เว็บบล็อก
  2. เว็บไซด์ต่าง ๆ
  3. ภาพป่าไม้ชนิดต่าง ๆ

ารวัดผลประเมินผล

  1. การทำแบบทดสอบก่อน /หลังเรียน
  2. การนำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

*มาหาพื้นที่ในการปลูกพืชกันเถอะ*
(สำหรับนักเรียนที่ใฝ่รู้ทุกคนจ้า....)
(โดยครูน้ำตาล)

"สวัสดีจ้านักเรียนที่น่ารักทุกคน หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องพืชจากรองปุ้ม ศึกษาคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับส่วนประกอบของพืชจากครูจิ๊บ ได้ศึกษาเรื่องพืชที่ให้สีต่าง ๆ และพืชที่เป็นยาสมุนไพร เช่น กระชายแล้ว นักเรียนหลายคนคงอยากจะปลูกพืชไว้ที่บ้านกันแล้วใช่ไหมคะ วันนี้ครูน้ำตาลมีเรื่องของการหาพื้นที่มาฝากค่ะ ไปเรียนรู้ร่วมกันได้เลยนะคะ"

ก่อนอื่นลองทำแบบทดสอบคิดเลขเร็วเพื่อวอล์มสมองกันก่อนนะคะ

แบบทดสอบก่อนเรียน

  • รูปสี่เหลี่ยมและการหาพื้นที่......>>> คลิกเลย!
  • รูปสามเหลี่ยมและการหาพื้นที่ ...>>> คลิกเลย!


เรื่องที่เราจะศึกษากันมีดังนี้นะจ๊ะ

"หลังจากเรียนรู้แล้ว ที่นี้ต้องมาทดสอบกันนะจ๊ะว่าพวกเรารู้เรื่องกันมากน้อยเพียงไหน ทดสอบสติปัญญากันหน่อยนะจ๊ะ ลองทำแบบทดสอบหลังเรียนเลยค่ะ"

แบบทดสอบหลังเรียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์



"มาหาพื้นที่ในการปลูกพืชกันเถอะ"
(สำหรับคุณครูที่น่ารักค่ะ)
(โดย ครูน้ำตาล)

ลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. นักเรียนสามารถหาพื้นที่ของที่ดินรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ใช้ในการปลูกพืชได้

  2. นักเรียนสามารถหาความยาวรอบที่ดินรูปของรูปสี่เหลี่ยมซึ่งใช้ในการปลูกพืชได้

  3. นักเรียนสามารถหาคำตอบเพื่อแก้โจทย์ปัญหาการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากได้

าระสำคัญของการเรียนรู้

  1. การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หาได้จากผลคูณของความกว้างกับความยาว

  2. พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส หาได้จากผลคูณของความยาวของด้านทั้งสอง

  3. ผลบวกของความยาวของด้านทุกด้านของรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่าความยาวรอบรูปสี่เหลี่ยม

ารดำเนินการสอน

  1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

  2. ศึกษาวิธีการคำนวณหาพื้นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากจากเว็บบล็อกให้เข้าใจ

  3. ศึกษาวิธีการคำนวณหาความยาวรอบรูปสี่เหลี่ยมจากเว็บบล็อกให้เข้าใจ

  4. ทำแบบฝึกหัดการคำนวณหาพื้นที่และความยาวรอบรูป

  5. ทำแบบทดสอบหลังเรียน

สื่อและกิจกรรมประกอบการสอน

  1. เว็บบล็อก

  2. เว็บไซด์ต่าง ๆ

  3. หนังสือเรียน

  4. แบบฝึกหัด

ารวัดผลประเมินผล

  1. แบบทดสอบ

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

กระชาย....ช่วยด้วย
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.รู้และเข้าจประโยชน์ของพืชในการดูแลสุขภาพ
2.รู้และเข้าใจขั้นตอนการใช้พืชในการรักษาสุขภาพ
3.รู้และเข้าใจการเก็บรักษาพืชในการรักษาสุขภาพ
สาระการเรียนรู้
เรื่องพืชสมุนไพร

ชื่อสามัญ / ชื่ออังกฤษ
Boesenbergia
ชื่อวิทยาศาสตร์
Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltro
วงศ์
Zinggiberaceae
ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น
กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระชายเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียวยาว อวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก
มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมส้ม
กระชายมีอยู่สามชนิด คือ กระชายเหลือง กระชายดำ และกระชายแดง แต่คนนิยมให้กระชายเหลืองมากกว่าชนิดอื่น ใบกระชายเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน
สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือขาวปนชมพู
ผลของกระชายเป็นผลแห้ง นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว

สารสำคัญที่พบ
รากและเหง้าของกระชายมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบไปด้วยสารไพนีน (Pinene) แคมฟีน (Camphene) เมอร์ซีน (Myrcene) ไลโมนีน (Limonene) บอร์นีออล (Borneol) และการบูร (Camphor) เป็นต้น

สรรพคุณ
กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร
และแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ

วิธีใช้เพื่อเป็นยา / ประโยชน์อื่น
1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสในอัตราส่วน กระชายแก่ 4 หัว ต่อน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากันดี
แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้นให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เมื่อหายแล้วกินต่ออีก 1-2 วัน วันละ 2 ครั้ง
เช้า-เย็น
2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน
3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วนที่เท่ากัน รับประทานก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง
ครั้งละประมาณ 1 ถ้วยชา
4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำรากกระชายแก่ ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง บดให้เป็นผงเก็บไว้ละลายกับน้ำร้อน
ดื่มแก้อาการเป็นลม
5. ไล่แมลง ใช้รากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ผสมน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน



ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
เหง้าและราก

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
รากกระชายเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ขนมจีนน้ำยา และเป็นส่วนประกอบของขนมอีกหลายชนิดเพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา เช่น ผัดเผ็ดปลาดุก
แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า ฯลฯ

การจัดการเรียนรู้
1.ทดสอบก่อนการเรียน
2.ศึกษาเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่อง กระชาย
3.ทดหลังการเรียน
4.ประเมินผล
สื่อ/อุปกรณ์
1.ภาพพืชสมุนไพร “กระชาย”
การวัดและประเมินผล
1.แบบทดสอบก่อน/หลังเรียน
2.การตอบคำถามระหว่างเรียน

แล้วพบกับ ครูอ็อด ได้ในบทเรียนใหม่ต่อไปนะครับ

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

มาเรียนรู้เรื่องสีจากพืชและธรรมชาติกันเถอะ

วัตถุประสงค์
1. นักเรียนสามารถบอกสีที่ได้จากพืชและธรรมชาติได้ถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถวาดภาพและจัดองค์ประกอบของภาพจากการใช้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของพืชได้ถูกต้อง

สาระสำคัญของการเรียนรู้
1. สีที่ได้จากพืชและธรรมชาติ
2. การวาดภาพและจัดองค์ประกอบของภาพ


การดำเนินการสอนศึกษา
จากเนื้อหาใน บล็อก แล้วทำแบบทดสอบ

สื่อและกิจกรรมประกอบการสอน
สาระการเรียนรู้ และใบกิจกรรมการเรียนใน web blog

การวัดและประเมินผล
จากการทำแบบทดสอบ และจากผลงานที่ทำส่งครู

วงจรสี
สีต่างๆในวงสีเกิดจากแม่สีทั้ง 3 คือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน เมื่อนำแม่สีมาผสมกันในปริมาณที่ เท่า ๆ กันจะเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นมา เช่น สีแดงผสมเหลืองเป็นสีส้ม

สีใกล้เคียงกัน
หมายถึง สีที่อยู่ใกล้ชิดกันในวงจรสีเช่น สีแดงกับสีม่วงเป็นสีที่ให้ความกลมกลืนกันเป็นอันมาก แต่ถ้าสีที่ห่างจากสีแดงไปเป็นสีม่วง ม่วงน้ำเงิน ความกลมกลืนก็จะเริ่มลดลงและถ้าห่างออกไปมาก ๆ ก็จะเป็นความขัดแย้ง เช่น สีแดงกับสีเขียว เป็นต้น

ตัวอย่างสีใกล้เคียงกัน
น้ำเงิน สีเขียวน้ำเงิน สีเขียว

สีตรงกันข้าม

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีคู่ประกอบ

สีคู่ปะกอบ
หมายถึง สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงจรสีเป็นคู่กันมี 6 คู่ ได้แก่
สีแดงกับสีเขียว
สีส้มกับสีน้ำเงิน
สีเหลืองกับสีม่วง
สีเหลืองส้มกับสีม่วงน้ำเงิน
สีส้มแดงกับสีน้ำเงินเขียว
สีม่วงกับสีเหลืองเขียว


สีของพืช
พืชมีหลายชนิด แต่ละชนิดให้สีที่ต่างกัน เราสามารถนำสีที่ได้จากพืชและธรรมชาติมาใช้ในงานศิลปะ หรือใช้เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้
สีแดง ได้จาก พริก มะเขือเทศ ทับทิม กระเจี๊ยบ ดอกกุหลาบ
สีส้ม ได้จาก แครอท พริก มะละกอ
สีเหลือง ได้จาก ข้าวโพด ดอกดาวเรือง ขมิ้น
สีเขียว ได้จาก ใบเตย บัวบก ชะพลู บร็อกโคลี่
สีม่วง ได้จาก ดอกอัญชัญ กะหล่ำม่วง มะเขือม่วง


กิจกรรม
น้องๆ ลองวาดภาพศิลปะ แล้วใช้สีที่ได้จากพืชหรือได้จากธรรมชาติ
ใช้การผสมสีให้เหมาะสมนะคะ

การเรียนรู้เรื่องสี

หมายถึง การเรียนรู้วิธีการนำเอาสีมาใช้ในรูปแบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ภาพที่แปลกใหม่ ซึ่งสามารถจำแนกวิธีต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. การเป่าสี หมายถึง การนำสีน้ำมาหยดลงบนกระดาษแล้วใช้ปากหรือหลอดก็ได้ เป่าไปที่สีน้ำให้กลิ้งไปในทิศทางต่าง ๆ จะเกิดลวดลายใหม่ ๆ ขึ้นมา
2. การขูดสี หมายถึง การนำสีเทียนมาระบายลงบนกระดาษวาดเขียนให้ทั่ว แล้วนำเอาสีของหมึกดำ หรือหมึกจีนก็ได้ ระบายลงบนสีเทียนที่ระบายไว้รอจนแห้ง แล้วทำการขูดด้วยวัตถุปลายแหลมบนพื้นกระดาษที่ระบายสีทั้งสองชนิด จะเห็นลวดลายสีสันแปลกตาทีเดียว
3. การโรยสี หมายถึง การนำกระดาษวาดเขียนมาระบายน้ำเปล่าลงบนกระดาษใหม่ชุ่มด้วยพู่กันจากนั้นนำสีฝุ่น หรือสีชอล์ก มาขูดโรยลงบนกระดาษที่เปียกชุ่ม สังเกตุการเปลี่ยนแปลงของสี จะได้ผลงานที่แปลกตา
4.การใช้สีน้ำกับสีเทียน หมายถึง การนำเอาสี 2 ชนิดมาสร้างงานในกระดาษเดียวกัน โดยการนำสีเทียนระบายลงบนกระดาษ แล้วเว้นว่างพื้นที่ส่วนต้องการวางบนพื้นที่กว้าง ๆ หรือส่วนที่ต้องการ การทำสีอ่อนแก่ โดยที่สีน้ำกับสีเทียนจะไม่รบกวนกันเลย


รูปร่าง รูปทรง
รูปร่าง หมายถึง การเขียนเส้นรอบ ๆ โครงสร้างของวัตถุต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ดีทางด้านกว้าง และยาวเท่านั้น ที่เรามักเรียกว่าภาพลักษณะ 2 มิติ
รูปทรง หมายถึง เป็นการเขียนรูปลักษณะภาพที่มีลักษณะการเพิ่มเส้นอีกหลายเส้น เข้าไปในภาพรูปร่าง
ซึ่งทำให้ภาพดูลึกขึ้น ที่เรามักเรียกลักษณะนี้ว่า ภาพ 3 มิติ

กิจกรรม
1. ให้น้อง ๆ สร้างภาพศิลปะ โดยใช้วิธี ต่าง ๆ ที่ได้ศึกษา
2. จัดองค์ประกอบของภาพให้สมดุล เหมาะสม

แล้วติดตาม พบกับบทเรียนใหม่ ๆ นะคะ จาก...รองฯ BEE

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

LET'S ENJOY WITH PLANTS !
by Kru JiP...

วัตถุประสงค์
1. นักเรียนสามารถบอกชื่อส่วนต่างๆ ของพืชในภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถแต่งประโยคง่ายๆ โดยใช้คำศัพท์เกี่ยวกับพืชและสีได้
3. นักเรียนสามารถตั้งคำถามและตอบคำถามสั้นๆ จากเรื่องที่อ่านได้

4. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและนำข้อมูลที่อ่านไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ได้

สาระสำคัญ
1.คำศัพท์เกี่ยวกับพืช plant, root, stem, leaf, seed, fruit
2.คำศัพท์เรื่องสี ได้แก่ green, red, yellow, black, brown, pink, blue, white, orange, purple,
3.โครงสร้างของประโยคคำถาม และประโยคบอกเล่า


การดำเนินการสอน
นักเรียนเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับพืช ได้แก่ plant, root, stem, leaf, seed, fruit จากเว็บบล็อก
นักเรียนอ่านบทอ่านเกี่ยวกับพืช ในเว็บบล็อก
โครงสร้างของประโยคคำถาม ที่ขึ้นต้นด้วย What และ Why
โครงสร้างของประโยคบอกเล่า subject + verb ช่อง 1

สื่อหรือกิจกรรมประกอบการสอน
การเรียนรู้จากเว็บบล็อก

การวัดผลประเมินผล
1. นักเรียนทำสมุดเล่มเล็กรวบรวมคำศัพท์ที่ได้จากการเรียนรู้ในเว็บบล็อกนี้
2. นักเรียนแบบทดสอบความรู้เรื่องพืชค่ะ To test your knowlegde of plant parts go to :

แบบทดสอบที่ 1 : click here!

แบบทดสอบที่ 2 : click here!

__________________________________________


Parts of plant


นักเรียน click >>>> ที่คำคัพท์แต่ละคำด้วยนะคะ

1. root (n.) = ราก

2. stem(n.) = ลำต้น

3. leaf(n.) = ใบ

4. flower(n.) = ดอก

5. fruit(n.) = ผล

6. seed (n.) = เมล็ด

>>>มีใครสงสัยบ้างไหมเอ่ย? คุณครูใช้คำว่า Plant ในความหมายที่ตรงกับคำว่า "พืช"นะคะ ไม่ได้ใช้คำว่า Tree เพราะ "Tree" หมายถึง "ต้นไม้ใหญ่" ค่ะ

----------------------------------------------------------------------------------

สีสั : colourful

What colour do you see from these plants?

นักเรียนมองเห็นสีอะไรบ้างจากพืชเหล่านี้?











กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

พืช (โดย...รองปุ้ม)

วัตถุประสงค์
1. นักเรียนสามารถบอกหน้าที่และส่วนประกอบของพืชได้ถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถบอกองค์ประกอบที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้
3. นักเรียนสามารถบอกวิธีการสร้างอาหารของพืชได้ถูกต้อง
4. นักเรียนสามารถบอกวิธีการขยายพันธุ์พืชได้ถูกต้อง
5. นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบได้ถูกต้องอย่างน้อย 70 %

สาระสำคัญของการเรียนรู้
1. หน้าที่และส่วนประกอบของพืช
2. การเจริญเติบโตของพืช
3. การสร้างอาหารของพืช
4. การขยายพันธุ์ของพืช

การดำเนินการสอน
ศึกษาจากเนื้อหาใน Web blog แล้วทำกิจกรรมและแบบทดสอบ

สื่อและกิจกรรมประกอบการสอน
เนื้อหาและกิจกรรมจาก Web blog

การวัดและประเมินผล
จากการทำแบบทดสอบ และจากผลงานที่ทำส่งครู

เนื้อหา
* หน้าที่และส่วนประกอบของพืช


1. ราก

2. ลำต้น

3. ใบ

4. ดอก

5. ผล





* การเจริญเติบโตของพืช
การเจริญเติบโตเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งรวมถึงพืชด้วย การเจริญของพืชสังเกตได้จากการเพิ่มขนาดหรือเพิ่มจำนวน เช่น มีใบเพิ่มจากหนึ่งเป็น 2 ใบ มีรากยาวขึ้นหรือมีลำต้นสูง เป็นต้น การเจริญของพืชจะเกิดอย่างมีขั้นตอนและต่อเนื่องกันไป ทำให้มีขนาดยาวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโครงสร้างที่มีลักษณะง่ายๆ จนกลายเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
ปัจจัยสำหรับการเจริญเติบโตของพืช
1. แสง
2. ดิน
3. น้ำหรือความชื้น
4. อากาศและอุณหภูมิ

* การสร้างอาหารของพืช เรียกว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

* การขยายพันธุ์ของพืช
พืชมีมากมายหลายชนิด พืชแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันหลายประการถึงแม้พืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกัน แต่พืชเหล่านี้ก็มีลักษณะบางประการที่เหมือนกันด้วย ดังนั้นจึงสามารถใช้ลักษณะที่เหมือนกันของพืชเป็นเกณฑ์ในการจำแนกพืช เพื่อทำให้ง่ายต่อการศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของพืช เราสามารถจำแนกพืชออกเป็น 2 พวกใหญ่ ได้ดังนี้
1. พืชมีดอก คือ พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีส่วนของดอกสำหรับใช้ในการผสมพันธุ์ เพื่อให้เกิดเป็นพืชต้นใหม่ พืชมีดอกจัดเป็นพืชชั้นสูง เพราะมีส่วนประกอบสำคัญๆ คือ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ชบา ทานตะวัน มะม่วง ชมพู่
2. พืชไม่มีดอก หรือพืชไร้ดอก คือ พืชที่ไม่มีดอกเลย ตลอดการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็ตาม พืชจำพวกนี้จึงไม่มีดอกสำหรับใช้ในการผสมพันธุ์ แต่จะสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ซึ่งจะงอกเป็นต้นใหม่ได้ เช่น เฟิร์น เห็ด สน ปรง ผักกูด ผักแว่น
* การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ
* การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

กิจกรรม
1. นักเรียนลองวาดรูปส่วนประกอบของพืช และเขียนบอกหน้าที่ของแต่ละส่วนด้วยนะจ๊ะ (10 คะแนน)
2. ปัจจัยสำหรับการเจริญเติบโตของพืชมีอะไรบ้างคะ (5 คะแนน)
3. พืชขยายพันธุ์ได้กี่แบบ แต่ละแบบขยายพันธุ์อย่างไร วาดรูปหรือเขียนอธิบายก็ได้ค่ะ (10 คะแนน)
4. นักเรียนทำแบบทดสอบวิทยาศาสตร์เรื่องพืชด้วยนะคะ (10 คะแนน)

แบบทดสอบ
* แบบทดสอบวิทยาศาสตร์เรื่องพืช

มาทำแบบทดสอบกันเถอะ

ปัญหาของหนูครูช่วยตอบ

กำลังใจ ยินดีต้อนรับทุกท่านร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ด้วยความจริงใจและสุภาพ นะคะ